การออกแบบผลิตภัณฑ์

ความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมหัตถกรรมท้องถิ่นและความสร้างสรรค์สมัยใหม่ ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตและผู้อุปโภคผลิตภัณฑ์การออกแบบที่มีลักษณะหลากหลาย ผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบที่มีความเป็นไทย และต้องการลงทุนธุรกิจในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งในส่วนนี้ นอกจากการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์แล้ว ผู้สร้างสรรค์งานและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาควรพิจารณาเพื่อขอรับความคุ้มครองในงานออกแบบของตนผ่านสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยเร็วที่สุด

ดังต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ระยะเวลาความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยสามารถดูได้ ที่นี่ คำแปลภาษาอังกฤษของ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรไทยดูได้ ที่นี่

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ทั้งในกลุ่มผู้ขอรับสิทธิบัตรชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นมีไว้เพื่อคุ้มครองลักษณะด้านการตกแต่งหรือความสวยงามของรูปลักษณ์ รวมถึงรูปทรง โครงสร้าง หรือลวดลายต่าง ๆ

กฎหมายสิทธิบัตรไทยได้กำหนดไว้ว่า ผู้ขอต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับงานออกแบบเดียวต่อคำขอดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ประสงค์ขอรับความคุ้มครองสำหรับส่วนการออกแบบมากกว่าหนึ่งองค์ประกอบ เช่น ลวดลายเพิ่มเติม หรือลวดลายเสริมที่ใช้แทนลวดลายเดิม จำต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรแยกสำหรับองค์ประกอบเสริมหรืองานออกแบบมากกว่าหนึ่งงานที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง

คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบต้องประกอบด้วยรูปภาพที่อธิบายงานออกแบบในหลากหลายมุมมอง อันได้แก่ มุมมองสองมิติและมุมมองสามมิติ เช่น มุมมองจากด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวา ด้านซ้าย ด้านล่าง ด้านบน และจากมุมที่แสดงให้เห็นถึงระยะภาพโดยรวม (perspective view) โดยสามารถยื่นภาพวาดหรือรูปภาพประกอบคำขอเพื่อแสดงมุมมองงานออกแบบดังกล่าว

การออกแบบรองเท้ายี่ห้อ Crocs ® ซึ่งนำไปใช้กับเคสโทรศัพท์มือถือและผลิตเป็นสินค้าที่ใช้ได้จริง

การที่จะสามารถใช้สิทธิบัตรออกแบบในเชิงการค้าอย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางการขอรับสิทธิออกแบบผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวแล้ว นับว่ามีข้อกำหนดในการขอรับความคุ้มครองค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการขอรับความคุ้มครองลิขสิทธิ์

ข้อกำหนด 2 ประการเพื่อให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์จะต้องมีความใหม่ และสามารถนำไปใช้ทางอุตสาหกรรมได้

กฎหมายไทยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความใหม่ของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในทำนองเดียวกับสิทธิบัตรอีกสองประเภท ซึ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับความใหม่นับเป็นคุณสมบัติอันสำคัญที่สุดในการพิจารณาเพื่อรับจดทะเบียนคุ้มครองสิทธิบัตรทั้งสามประเภทในประเทศไทย กฎหมายไทยวางหลักอย่างชัดเจนว่าการประดิษฐ์จะขาดความใหม่หากปรากฏอยู่เป็นวิทยาการที่มีอยู่แล้วในขณะนั้น (State of the Art) อันมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
  • การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (เช่นในวารสารทางวิทยาศาสตร์ หรือในวิทยานิพนธ์)
  • การประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรแล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
  • การประดิษฐ์ซึ่งมีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ไว้แล้วนอกราชอาณาจักรเป็นเวลาเกินสิบแปดเดือน ก่อนวันขอรับสิทธิบัตรแต่ยังมิได้มีการออกสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรให้
  • การประดิษฐ์ที่มีผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไว้แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร และได้ประกาศโฆษณาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร

ดังที่ได้ยกมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ประเมินความใหม่ของการประดิษฐ์จากเพียงการประดิษฐ์ที่ได้รับความคุ้มครองในประเทศเท่านั้น แต่ได้ดำเนินการตรวจสอบความใหม่ผ่านฐานข้อมูลสิทธิบัตรระหว่างประเทศ และคำขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในต่างประเทศเช่นกัน และบ่อยครั้งมักพบว่า ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (สิ่งพิมพ์ งานวิจัย และข้อมูลที่พบได้ทางออนไลน์) เพื่อตรวจสอบความใหม่เช่นเดียวกัน

สำหรับเจ้าของสิทธิบัตรที่ประสงค์ขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้กฎหมายของประเทศไทยนั้น ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าข้อมูลสิทธิบัตรถูกเก็บไว้เป็นความลับอย่างมิดชิดก่อนวันที่ขอจดทะเบียน เว้นแต่ได้มีการทำสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูลระหว่างบุคคลตามความเหมาะสมแล้ว เช่นนั้นอาจสามารถเปิดเผยการประดิษฐ์หรือการค้นพบใหม่อันอาจทำให้ผลงานที่จะยื่นขอจดทะเบียนตกเป็น “ศิลปะหรือวิทยาการที่มีอยู่ในขณะนั้น (State of the Art)” ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะสามารถกระทบสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรและต่อความใหม่ของงานที่ขอรับสิทธิบัตร

การประดิษฐ์นั้นมักบรรลุข้อกำหนดด้านการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้โดยง่าย เนื่องจากผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรไทยมีการตีความที่ค่อนข้างกว้างในแง่การประยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรม และการใช้การประดิษฐ์ในบริบททางการค้าย่อมเป็นเหตุผลที่เพียงพอต่อการอนุญาตแล้ว การประดิษฐ์ใดก็ตามจะถือว่าเป็นการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมต่อเมื่อมีการสร้างหรือใช้งานในอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม รวมไปถึง งานหัตถกรรม เกษตรกรรม หรือการพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตอยู่ว่า การประดิษฐ์ที่เป็นเพียงการประยุกต์ใช้ในทางวิชาการหรือทางทฤษฎี ที่ไม่มีการใช้งานทางอุตสาหกรรมหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะถือว่าไม่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดนี้

ผนผังด้านล่างเป็นภาพรวมโดยย่อของขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ทั้งนี้ คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นจำต้องเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสอบรายละเอียดของงาน และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จำต้องมีความใหม่เช่นเดียวกัน

โปรดพิจารณาแผนผังด้านล่างแสดงภาพรวมโดยย่อของขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรออกแบบในประเทศไทย

ขั้นตอนการขอรับจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (โดยย่อ)

ในขณะนี้ยังไม่เปิดให้มีการขอรับความคุ้มครองการออกแบบภาคส่วนของผลิตภัณฑ์ได้ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายเพื่อสามารถให้ความคุ้มครองการออกแบบภาคส่วนของผลิตภัณฑ์ในอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้นในแวดวงเศรษฐกิจไทย

ขณะนี้ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศภาคีแห่งความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งความตกลงดังกล่าวเอื้อให้มีการยื่นขอรับความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศผ่านองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก ในทำนองเดียวกับสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ Patent Cooperation Treaty – PCT ซึ่งเอื้อให้การจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ โดยคาดว่าประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายในอนาคตอันใกล้นี้